พระปรางค์กู่ ถูกสร้างโดย "พระไภษชัยคุรุไวฑูรย์ประภา" เมื่อ พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1763หรือพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยเจนละ ขณะที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์ โดยสร้างเป็นปรางค์ศิลาแลงทั้งหลัง มีประตูเข้าทางทิศตะวันออก มีกำแพงรูปสี่เหลี่ยม ล้อมรอบ ภายในพระปรางค์กู่ มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นประดิษฐานอยู่ มีเศียรเทวดาอิทธิพล ศิลปะขอมทับหลังที่กรอบประตูสลักเป็นรูปไตรรัตนมหายาน มีความหมายถึง พระพุทธเจ้า ทรงมีความรู้การแพทย์ ทำให้ประชาชนมีความสุขและไม่มีโรค จังหวัดชัยภูมิ เป็นอีกจังหวัดหนึ่งทางภาคอีสานของประเทศไทยที่มีความเป็นมาที่เก่าแก่ มีอารยธรรมซ้อนทับกันหลายสมัย สามารถสืบย้อนไปได้ถึงสมัยทวารวดี สมัยขอมยังเรืองอำนาจ โดยในสมัยที่ขอมยังเรืองอำนาจนี้ เมืองชัยภูมิถือได้ว่าเป็นเมืองผ่านของขอม และได้ปรากฏหลักฐานเป็นปรางค์ศิลาหลายเเห่งกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ เช่น พระธาตุหนอง
สามหมื่น พระธาตุกุดจอก ฯลฯ
"ปรางค์กู่" ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว อำเภอเมืองชัยภูมิ ก็เป็นสถาปัตยกรรมอีกชิ้นหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากขอม คำว่าปรางค์กู่นั้น เป็นชื่อเรียกของกลุ่มอาคารที่มีแผนผังและลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่าเป็นอโรคยาศาล หรือสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
สำหรับปรางค์กู่ที่จังหวัดชัยภูมินี้ เป็นโบราณสถานที่สมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดชัยภูมิ มีลักษณะเป็นปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางหนึ่งองค์ มีวิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้าหนึ่งหลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง และมีโคปุระ (ซุ้มประตู) อยู่เฉพาะด้านหน้า ทั้งหมดก่อด้วยศิลาแลง ยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ปรางค์ประธานของปรางค์กู่องค์นี้มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังประดับอยู่ ภาพบนทับหลังจำหลักเป็นรูปของพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ส่วนด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้าก็ยังมีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก
และภายในช่องประตูหลอกทางด้านทิศเหนือ ก็ยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง 1.75 เมตร ประดิษฐานอยู่ 1 องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น เป็นที่เคารพสักการะของชาวชัยภูมิ นอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ อีก เช่น เสาประดับประตู เป็นต้น นอกจากนั้น บริเวณนอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือก็มีสระน้ำอยู่ 1 สระด้วยกัน
แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่ปรางค์กู่ก็ถือเป็นโบราณสถานที่ชาวชัยภูมิให้ความเคารพสักการะมาโดยตลอด โดยทุกๆ วันเพ็ญเดือน 5 ของแต่ละปี ก็จะมีการจัดงานสรงน้ำพระพุทธรูปที่ปรางค์กู่เป็นประจำ ติดต่อกัน 3 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของโบราณสถานแห่งนี้ รวมทั้งความเคารพที่คนชัยภูมิมีต่อปรางค์กู่ได้เป็นอย่างดี///////////////ศตส.จ.ชัยภูมิ
"ปรางค์กู่" ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว อำเภอเมืองชัยภูมิ ก็เป็นสถาปัตยกรรมอีกชิ้นหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากขอม คำว่าปรางค์กู่นั้น เป็นชื่อเรียกของกลุ่มอาคารที่มีแผนผังและลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่าเป็นอโรคยาศาล หรือสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
สำหรับปรางค์กู่ที่จังหวัดชัยภูมินี้ เป็นโบราณสถานที่สมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดชัยภูมิ มีลักษณะเป็นปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางหนึ่งองค์ มีวิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้าหนึ่งหลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง และมีโคปุระ (ซุ้มประตู) อยู่เฉพาะด้านหน้า ทั้งหมดก่อด้วยศิลาแลง ยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ปรางค์ประธานของปรางค์กู่องค์นี้มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังประดับอยู่ ภาพบนทับหลังจำหลักเป็นรูปของพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ส่วนด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้าก็ยังมีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก
และภายในช่องประตูหลอกทางด้านทิศเหนือ ก็ยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง 1.75 เมตร ประดิษฐานอยู่ 1 องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น เป็นที่เคารพสักการะของชาวชัยภูมิ นอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ อีก เช่น เสาประดับประตู เป็นต้น นอกจากนั้น บริเวณนอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือก็มีสระน้ำอยู่ 1 สระด้วยกัน
แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่ปรางค์กู่ก็ถือเป็นโบราณสถานที่ชาวชัยภูมิให้ความเคารพสักการะมาโดยตลอด โดยทุกๆ วันเพ็ญเดือน 5 ของแต่ละปี ก็จะมีการจัดงานสรงน้ำพระพุทธรูปที่ปรางค์กู่เป็นประจำ ติดต่อกัน 3 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของโบราณสถานแห่งนี้ รวมทั้งความเคารพที่คนชัยภูมิมีต่อปรางค์กู่ได้เป็นอย่างดี///////////////ศตส.จ.ชัยภูมิ